Dinosaur ไดโนเสาร์

ใครรู้จักไดโนเสาร์ยกมือขึ้น!อื้อ หือ ยกมือกันใหญ่เลยนะครับ แสดงว่าคุณผู้อ่านรู้จักไดโนเสาร์ดี  ผมว่าต้องรู้จักอยู่แล้วละ มันออกจะโด่งดังแบบนั้น  อย่างน้อยถ้าดูรูปข้างล่างก็คงรู้ว่ามันคือไดโนเสาร์ หรือถ้าให้วาดรูปไดโนเสาร์คิดว่าทุกคนก็คงวาดกันได้แน่ๆ 
 
ถ้างั้นผมมีคำถามมาถามต่อครับ
จงเติมคำในช่องว่าง
ไดโนเสาร์คืออะไร  
ตอบ _________________________________________________________________

ตอบได้ไหมครับ ...
ถ้ายังตอบไม่ได้ ผมก็มีตัวเลือกให้ละกัน รุ่นพวกเราอาจคุ้นกับข้อสอบแบบนี้มากกว่าข้อสอบเติมคำ
ก. สัตว์โบราณกลุ่มหนึ่งหน้าตาคล้ายกิ้งก่า มีชีวิตอยู่เมื่อหลายล้านปีก่อน มีขนาดตัวใหญ่โตมโหฬาร
ข. สัตว์เลื้อยคลานที่มีชีวิตอยู่เมื่อหลายล้านปีก่อน มีหลายชนิด บางชนิดอยู่บนบก บางชนิดบินได้ บางชนิดอยู่ในทะเล
ค. สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ชอบแลบลิ้นแผล่บๆ และกินไก่เป็นอาหาร มักถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวกาลกิณี ชอบปรากฏตัวแถวๆ รัฐสภา
ง. สัตว์โบราณชนิดหนึ่ง ชอบแอบแฝงตัวอยู่ในสภา คอยขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ
จ. คืออะไรก็ช่างไดโนเสาร์มันเถอะ รู้ไปก็ไม่ได้ทำให้น้ำมันถูกลงนี่หว่า

จากการตรวจคำตอบที่ผู้อ่านตอบมา คนส่วนใหญ่จะตอบข้อ ก.หรือ ข.
แต่คำตอบคือ ไม่ถูกสักข้อครับ  คำตอบข้างบนยังไม่ใช่นิยามที่ถูกต้องของไดโนเสาร์

งั้นมาลองอีกข้อนึง
สัตว์ตัวไหนไม่ใช่ไดโนเสาร์  (ตอบได้มากกว่า 1 ตัว)

 
ตึ๊กต่อก....ตึ๊กต่อก....
อืม... เจ้า A หน้าตาดูโหดแบบโบราณๆ น่าจะใช่   ส่วน B นี่มันช้างแมมมอทนี่หว่า แต่แมมมอทก็เป็นสัตว์โบราณนะ งั้นคงใช่  C กับ D ก็เห็นในภาพสัตว์ดึกดำบรรพ์บ่อยๆ  งั้นตอบว่าใช่หมดละกัน

แต่คำตอบ คือ ไม่ใช่สักตัวครับ
แล้ว ไดโนเสาร์คืออะไรกันแน่ละ คุณผู้อ่านอาจจะเริ่มรำคาญผมแล้ว  มันไม่ยอมบอกสักที  ยังครับ ยังไม่บอก (อย่าเพิ่งเลิกอ่านนะครับ)  ผมจะให้ผู้อ่านสังเกตเอง ตามแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่เราจะให้นักเรียนเป็นผู้หาคำตอบด้วยตัวเอง
ให้ลองดูสัตว์ 2 ตัวนี้ครับ ตัวบนคือตะกวด ตัวล่างคือไดโนเสาร์  มีอะไรแตกต่างกันครับ 

 
อย่าตอบว่าคอยาวนะ!
ถ้ายังหาจุดต่างไม่พบ ลองมาดูภาพด้านบนของพวกมันดีกว่า

  
เห็น ไหมครับ นั่นแหละ ตรงนั้นแหละ ใช่แล้ว ถูกต้องครับ! ขาของมันไง  คุณผู้อ่านอาจบอกว่า อ้าว ที่ขาเหรอ  มันต่างกันตรงนี้เองครับ ขาของเจ้าตะกวดยื่นออกมาด้านข้างของลำตัว ส่วนของไดโนเสาร์นั่นไม่ยื่น
นี่ คือจุดเด่นของไดโนเสาร์  ไดโนเสาร์มีลักษณะของขาต่างจากสัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ เช่น เต่า กิ้งก่า หรือจระเข้   มันมีท่ายืนที่โดดเด่นเรียกว่า upright posture  ซึ่งพอจะอธิบายง่ายๆ ว่า ท่ายืนแบบขายื่นลงมาตรงๆ ใต้ลำตัว  คือ เมื่อมองจากด้านบน ขาของมันจะไม่กางออกแบบเจ้าตะกวด แลดูเรียบร้อยสวยงามเหมือนกุลสตรี  ลักษณะขาเช่นนี้ทำให้ไดโนเสาร์แยกออกจากสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มอื่นอย่าง ชัดเจน 

คุณ ผู้อ่านอาจบอกว่าแล้วขาแบบนี้มีความสำคัญอย่างไรล่ะ  มีครับ สำคัญมากด้วย  การที่มีขาลักษณะแบบนี้ ทำให้ไดโนเสาร์เป็นสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต  การเดินของมันไม่ต่างกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างพวกวัว เสือ ช้าง กวาง หรือแมวในปัจจุบัน  มันจะมีความคล่องตัวกว่าพวกเต่า กิ้งก่า จระเข้ ที่จะเดินกวาดขาไปข้างๆ และเดินโย้ตัวไปมาแบบที่เราเรียกว่า การเลื้อยคลาน (พอจะนึกภาพออกนะครับ)  ไดโนเสาร์จึงมีการเคลื่อนไหวรวดเร็ว ไม่งุ่มง่ามเหมือนพวกจระเข้ ทำให้มันวิวัฒนาการได้หลากหลาย และแพร่กระจายครอบครองผืนแผ่นดินในอดีต
นอก จากท่ายืนแล้ว ไดโนเสาร์ก็ยังมีลักษณะเฉพาะตัวอื่นๆ เช่น หัวกะโหลก ขากรรไกร ข้อเท้าที่พับได้ เป็นต้น  จะเห็นได้ว่าการเป็นไดโนเสาร์นั้นซับซ้อนพอดู ดังนั้นไม่แปลกหรอกครับ ที่เราจะไม่รู้ว่าไดโนเสาร์คืออะไร
 
ลักษณะของขา ขากรรไกร กรงเล็บ และข้อเท้า ทำให้ไดโนเสาร์เป็นเจ้าแห่งแผ่นดินในยุคดึกดำบรรพ์อย่างแท้จริง
คราวนี้มาดูข้อมูลอื่นๆ ของไดโนเสาร์กันดีกว่า
ไดโนเสาร์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง อาศัยอยู่บนบก มี 4 ขา มีผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุม ออกลูกเป็นไข่ มีหลายชนิด ทั้งที่กินพืช กินสัตว์ ทั้งคอยาว คอสั้น เดิน 2 ขา เดิน 4 ขา มีเขา มีหนาม หางเป็นลูกตุ้ม ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ฯลฯ
ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในมหายุคเมโซโซอิก (Mesozoic Era)  หรือ 225-65 ล้านปีก่อน  ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ยุคคือ ไทรแอสซิก จูแรสซิก และครีเทเชียส  รวมเวลาที่มีชีวิตบนโลก 160 ล้านปี ถือว่าเป็นสัตว์ที่ประสบความสำเร็จมากๆ (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพิ่งครองโลกได้แค่ 60 ล้านปีเอง)


ไดโนเสาร์ขอแก้ข่าว!
มีหลายเรื่องที่เรามักเข้าใจไดโนเสาร์ผิดไป
• ไดโนเสาร์ไม่จำเป็นต้องตัวใหญ่ ไดโนเสาร์บางชนิดมีขนาดเท่าไก่บ้านต้มน้ำปลาเท่านั้น เช่น คอมพ์ซอกนาทัส และก็มีอีกหลายชนิดที่ตัวพอๆ กับคน
• ไดโนเสาร์อยู่บนบก เจ้าสัตว์โบราณหน้าตาคล้ายไดโนเสาร์ที่อยู่ในทะเลหรือบนฟ้าไม่ใช่ไดโนเสาร์ ไดโนเสาร์ของแท้ต้องอยู่บนแผ่นดินเท่านั้น (อาจลงไปแช่น้ำบ้างในบางเวลา)
 
เจ้าตัวที่บินอยู่กับตัวที่โผล่มาจากน้ำไม่ใช่ไดโนเสาร์
• มนุษย์ไม่เคยมีชีวิตอยู่ช่วงเวลาเดียวกับไดโนเสาร์ พวกเราเพิ่งมีตัวตนบนโลกเมื่อ 100,000 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น  ดังนั้นมนุษย์จึงไม่เคยเจอไดโนเสาร์แบบในภาพยนตร์
 
• ไดโนเสาร์ไม่ได้เดินหางลากพื้นหรือมีลำตัวตั้งฉากกับพื้น  พวกมันมีลำตัวเกือบขนานกับพื้นและมีหางยกขนานกับพื้นเช่นกัน   หางของมันอยู่ในลักษณะนี้เพราะไว้ถ่วงส่วนหัว  ภาพไดโนเสาร์ในอดีตมักเป็นไดโนเสาร์ตั้วตั้งตรง หางลากพื้น คอยื่นยาวขึ้นฟ้า ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
 
ภาพนี้แสดงสัดส่วนของไดโนเสาร์ได้ผิด ทั้งเจ้าตัวคอยาวและเจ้าตัวเล็กที่ยืน 2 ขา
 
การต่อโครงกระดูกและการจัดท่ายืนของไดโนเสาร์ในปัจจุบันต่างจากสมัยก่อน
เรื่องนี้ยังไม่ชัวร์?• ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลือดอุ่นหรือเลือดเย็นกันแน่ แม้จะเป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่หลายคนเชื่อว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลือดอุ่นเหมือนนกและสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม  การที่มันเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวหรือมีตัวใหญ่โต น่าจะเหมาะกับการเป็นสัตว์เลือดอุ่นมากกว่า  แต่บางคนก็ยังเชื่อว่ามันเป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ สะเทินน้ำสะเทินบก 
 
• ไดโนเสาร์มีสีอย่างไรกันแน่ เนื่องจากไม่เคยพบผิวหนังของมัน  ที่จริงแล้วมันอาจมีสีสดใส เหมือนสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดในปัจจุบันก็เป็นได้ หรืออาจมีลวดลายตามตัวเหมือนเสือดาวหรือม้าลาย!
• ไดโนเสาร์มีขนหรือเปล่า  มีการพบฟอสซิลไดโนเสาร์บางชนิดที่มีร่องรอยขนแบบนกติดอยู่ด้วย  ทำให้คาดกันว่าไดโนเสาร์บางชนิดที่เป็นญาติใกล้ชิดกับนกมีขนแบบนกอยู่ตามตัว ด้วย
เวโลซิแรปเตอร์นักล่าผู้น่ากลัว เวอร์ชั่นมีขนนก ดูคล้ายพวกอินเดียนแดง
วิวัฒนาการของไดโนเสาร์เมื่อ รู้แล้วว่าไดโนเสาร์เป็นยังไง คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าครับ ว่ามันเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มไหนและเป็นญาติกับใคร แม้หน้าตาจะใกล้เคียงกับกิ้งก่าหรือตัวเงินตัวทอง แต่มันกลับเป็นญาติของจระเข้และนกเฉยเลย
นัก วิทยาศาสตร์ดูจะชอบทำเรื่องยากๆ และเหนือความคาดหมายเสมอ ที่พวกเขาจัดกลุ่มไดโนเสาร์ไว้ใกล้กับนกและจระเข้ ก็เพราะมีเหตุผลบางอย่าง  ผมจะลองอธิบายเรื่องวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ให้ฟัง  ไม่ต้องกลัวครับ ไม่ยากหรอก...
อันดับแรก เรามารู้จักสัตว์เลื้อยคลาน (reptile) กัน ก่อน  สัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน ประกอบด้วย 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เต่า จระเข้ งู และกิ้งก่า (ที่จริงมีอีกกลุ่มคือตัวทัวทารา แต่ผมไม่ขอพูดถึง)  แต่ในอดีต สัตว์เลื้อยคลานมีหลายกลุ่มกว่านี้ พวกมันเดินกันยั้วเยี้ยเต็มโลกไปหมด
เรา มาย้อนอดีตไปดูกันว่าสัตว์เลื้อยคลานเกิดขึ้นมาจากไหน  ในสมัยที่สัตว์อยู่กันแต่ในน้ำ มีปลากลุ่มหนึ่งอาจหาญวิวัฒนาการขึ้นมาบนบกเป็นสัตว์สี่เท้า (tetrapod) และ กลายเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในที่สุด  สัตว์พวกนี้ขึ้นมาอยู่บนบกได้ แต่ก็ขาดน้ำไม่ได้เช่นกัน มันต้องกลับไปวางไข่ในน้ำ มันเลยมีชีวิตก้ำๆ กึ่งๆ แบบรักบกเสียดายน้ำ
 
อิกทีโอสเตกา สัตว์สี่เท้ากลุ่มแรกของโลก ดูหน้าไว้ครับนี่แหละบรรพบุรุษของพวกเรา
แต่ มีสัตว์อีกพวกหนึ่งที่วิวัฒนาการจนมีความสามารถในการอยู่บนบกได้อย่างเต็ม ที่ พวกมันไม่ต้องกลับไปวางไข่ในน้ำเหมือนพวกสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก  พวกมันคือสัตว์ที่ออกไข่ที่มีเปลือกแข็งๆ หุ้ม และมีถุงน้ำคร่ำ (Amnion) ซึ่งช่วยห่อหุ้มตัวอ่อนไว้ในของเหลวในไข่ ทำให้มันสามารถวางไข่ในที่ที่แห้งได้  พวกมันยังมีปอดที่มีประสิทธิภาพและมีเกล็ด มันจึงบอกลาน้ำและเริ่มบุกลึกเข้าไปในแผ่นดิน พวกมันก็คือสัตว์เลื้อยคลานนี่เอง หรือบางคนเรียกมันว่าสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ (Amniote)
ไข่เปลือกแข็งที่มีถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มตัวอ่อนเป็นกลไกสำคัญในความสำเร็จของสัตว์เลื้อยคลาน
แล้วเจ้าสัตว์เลื้อยคลานก็ประสบความสำเร็จในการขึ้นมาใช้ชีวิตบนบก จนได้วิวัฒนาการต่อไปจนมีหลายกลุ่มและครอบครองโลกในที่สุด
คราวนี้เรามาดูต่อกันครับ ว่าไดโนเสาร์อยู่กลุ่มไหน
นัก ชีววิทยาแบ่งสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่มีอยู่บนโลก รวมทั้งที่สูญพันธุ์แล้วเป็น 4 กลุ่มใหญ่ตามลักษณะหัวกะโหลก (อาจแบ่งต่างกันบ้างตามแต่ละสำนัก)  โดยดูจากช่องที่อยู่ด้านหลังตาที่เรียกว่า ช่องขมับ (temporal fenestae)  ไม่ต้องไปสนใจชื่อยากๆ ให้ปวดขมับหรอกครับ  จำไว้ว่ามันเป็นช่องๆ หนึ่งบนกะโหลก  ซึ่งไว้ใช้แบ่งสัตว์เลื้อยคลานได้ 4 กลุ่มดังนี้ 
อะแนปซิด (Anapsid)  ไม่มีช่องขมับเลย ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานรุ่นแรกและเต่าต้วมเตี้ยม 
ไดแอปซิด (Diapsid)   มีช่องขมับ 2 ช่อง ได้แก่ ไดโนเสาร์ จระเข้ งู กิ้งก่า ฯลฯ
ไซแนปซิด (Synapsid)  มีช่องขมับ 1 ช่อง อธิบายง่ายๆ ว่าอยู่ค่อนไปทางด้านบนของกะโหลก ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ตัวอะไรเนี่ย)
ยูรีแอปซิด (Euryapsid)  มีช่องขมับ 1 ช่อง อธิบายง่ายๆ ว่าอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของกะโหลก ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานในทะเล (ลงทะเลแล้วทำไมไม่ว่ายน้ำละ ไปคลานทำไม)
ผมขออธิบายถึงเจ้าสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammal-like reptile) เพิ่มเติม  พวกมันเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่งที่วิวัฒนาการเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเวลาต่อมา  จะว่าพวกมันเป็นบรรพบุรุษของเราก็ได้ครับ  แม้จะชื่อว่าคล้ายแต่มันก็ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนม เพียงแต่มีลักษณะต่างๆ เช่น กะโหลกและฟัน คล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ไดรเมโทดอน สัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่มหนึ่ง มีกระโดงอยู่บนหลัง
 
ไทรนาโซดอนมีลักษณะก่ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เจ้า พวกสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนี้ดำรงชีวิตอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนยุคไดโนเสาร์ แต่พอไดโนเสาร์ครองโลกพวกมันทั้งหมดก็สูญพันธุ์  เรื่องของมันน่าสนใจไม่น้อยครับ ไว้วันหลังจะเล่าให้ฟัง
ส่วนเจ้าสัตว์เลื้อยคลานในทะเล (Marine retile) มัน ไม่ได้ไปเลื้อยในทะเลหรอกครับ มันคือสัตว์เลื้อยคลานพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในและน้ำจืดทะเล  พวกนี้ว่ายน้ำเก่งใช้ได้ ถือเป็นเจ้าทะเลในยุคไดโนเสาร์เลยละ ไม่ต่างจากวาฬและโลมาในปัจจุบัน
มันมีหน้าตาหล่อๆ แบบนี้นี่เอง  คงคุ้นหน้ามันกันบ้างนะครับ  ไว้วันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังอีกเช่นกัน
  
อิกทีโอซอร์ (ตัวซ้าย) ปรับตัวจนมีรูปร่างที่เหมาะสมกับการว่ายน้ำ ส่วนเจ้ามีโซซอร์ (ตัวขวา) เป็นผู้ล่าในน้ำขนาดยักษ์
เพลซิโอซอร์หรือเจ้าตัวคอยาวในน้ำที่โด่งดัง ถ้าเนสซีมีจริงก็น่าจะเป็นเจ้าตัวนี่แหละ
เอาละกลับมาที่กลุ่มไดโนเสาร์หรือพวกไดแอปซิดกันต่อ  เจ้าไดแอปซิดนี่ยังแบ่งได้เป็น 2 พวกครับ คือ พวกเลพิโดซอร์ (lepidosaur) ก็คือกิ้งก่าและงูในปัจจุบันนั่นเอง  ส่วนอีกพวกคือ อาร์โคซอร์ (Archosaur) ได้แก่ จระเข้ เทอโรซอร์ (เจ้าสัตว์เลื้อยคลานบินได้ทั้งหลายแหล่) ไดโนเสาร์ และนก

ผมขอพูดถึงเทอโรซอร์คร่าวๆ  เพราะตัวอื่นๆ คุณผู้อ่านคงรู้จักแล้ว  เทอโรซอร์ (pterosaur) ก็ คือสัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่ครอบครองทองฟ้าในมหายุคเมโซโซอิกก่อนที่จะมีนก  เราคงคุ้นๆ หน้าตากันมาพอสมควร ไว้วัหลังจะมาเล่าให้ฟังอีกเช่นกัน (หลายเรื่องแล้วนะ)
 
เทอราโนดอน เทอโรซอร์ที่เราคุ้นหน้ากันดี
ไดมอร์โฟดอน เทอโรซอร์ขนาดเล็ก มีหางช่วยบังคับทิศทาง
พวก อาร์โคซอร์มีบรรพบุรุษคือตัวทีโคดอน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของทั้งไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จระเข้ และนก  หน้าตามันเป็นแบบนี้แหละครับ  จากทีโคดอนก็จะวิวัฒนาการเป็นไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสซิกในที่สุด

 หน้าตาของทีโคดอน บรรพบุรุษของไดโนเสาร์
อย่า เพิ่งงงนะครับ!  การอธิบายแบบนี้อาจทำให้มองไม่เห็นภาพ  งั้นมาดูแผนผังวิวัฒนาการของไดโนเสาร์และญาติของมันดีกว่า  ผมจะขอเปรียบให้การวิวัฒนาการเป็นเหมือนแม่น้ำละกันครับ  ลองคิดง่ายๆ ว่าเส้นแต่ละเส้นคือแม่น้ำ เริ่มที่ต้นน้ำซึ่งคือต้นตระกูลของสิ่งมีชีวิต เมื่อแม่น้ำไหลไปเรื่อยๆ (ผ่านการวิวัฒนาการตามกาลเวลา)  มันก็จะผ่านเมืองต่างๆ (ซึ่งก็คือเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่) และแยกเป็นแม่น้ำสายเล็กสายน้อยมาก มาย (เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ) ระหว่างนั้น แม่น้ำบางสายก็ตันหรือเหือดแห้ง (สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นสูญพันธุ์) แต่บางสายก็ไหลต่อมาถึงปัจจุบัน
ผมขอเรียกมันว่าสายน้ำแห่งวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ครับ (เว่อร์จัง)

ลอง มาดูกันครับ แม่น้ำสายนี้มีต้นน้ำอยู่ด้านล่างที่เมืองสัตว์สี่เท้า  เมื่อแม่น้ำสายนี้ไหลขึ้นไป มันก็แยกเป็น 2 ทาง ทางหนึ่งไหนผ่านไปเมืองสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก อีกสายก็ไหลไปยังเมืองสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีชื่อว่าแม่น้ำสายอะแนปซิด  แม่น้ำสายอะแนปซิดนี้ไหลแยกเป็น 2 สาย สายหนึ่งไหลไปเป็นพวกเต่า อีกสายก็ไหลต่อไปจนไปเจอทางแยกเป็น 3 สาย ซึ่งแยกเป็นสายไซแนปซิด ไดแอปซิด ยูรีแอปซิด  แต่ละสายก็ไหลต่อไปอีกมากมาย  จนในที่สุดก็มาถึงเมืองไดโนเสาร์ แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านเมืองไดโนเสาร์ต่อไปเป็นเวลา 160 ล้านปี  จนในที่สุดก็ตื้นเขินและเหือดแห้งไป...
จาก แผนผังแสดงวิวัฒนาการนี้จะเห็นว่านกนั่นวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์นี่เอง มันจึงเป็นญาติของไดโนเสาร์ ส่วนญาติใกล้ชิดรองลงมาของไดโนเสาร์ก็คือจระเข้
เอา ละครับ มองภาพออกแล้วใช่ไหมว่าไดโนเสาร์คืออะไรและเป็นญาติกับใคร  มันเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวสูง  ทำให้นักบรรพชีวิทยาบางคนจัดมันออกจากสัตว์เลื้อยคลาน เป็นกลุ่มเฉพาะเหมือนนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
 

ประวัติการค้นพบ


มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน
สองปีต่อมาวิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา
                     จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์[1] เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน



 








 



วิวัฒนาการ


บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์
จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่างๆของไดโนเสาร์
มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุคซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนเสาร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิด ขึ้นมาจะมีขนาดเล็กเดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมา ในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย



                  







 ยุคของไดโนเสาร์


ยุคครีเตเซียส
ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีการค้นพบที่จังหวัดฟุกุชิมาได้แก่ พวกไดโนเสาร์คอยาว อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และ[อาเครอน]]เป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตโตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ สเตโกซอรัส แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก






ยุคจูราสสิก
ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์นอย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใ หม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sorropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็นไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส (Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุล ของสรีระของมัน
ยุคครีเตเซียส



 



ยุคไทรแอสสิก
การครอบ ครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด


แหล่งอ้างอิงNational Geographic ตะลุยโลกไดโนเสาร์ โดย พอล แบร์เร็ตต์
นานมีบุ๊คส์พาตะลุยแดนไดโนเสาร์ โดย David lambert
Dinosaurs the textbook
โดย Spencer G. Lucas
Dinosaurs a Global view 
โดย Sylvia Czerkas
Zoology
โดย Cleveland Hickmanภาพประกอบ
จากเว็บไซต์ต่างๆ
Dinosaurs the textbook
โดย Spencer G. Lucas
Dinosaurs a Global view 
โดย Sylvia Czerkas


 
 

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในโซล์นโฮเฟน

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในโซล์นโฮเฟน

คอมพ์ซอกนาธัส (Compsognathus)

ไดโนเสาร์ชนิดเดียวที่พบในโซล์นโฮเฟนคือ คอมพ์ซอกนาธัส ไดโนเสาร์กินเนื้อที่เล็กที่สุดในบรรดาใดโนเสาร์ อาจจับสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเช่น กิ้งก่า และแมลงเป็นอาหาร

อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx)


นกโบราณนี้กระพือปีกที่ปกคลุมด้วยขนแบบนกบินข้ามผืนดินผืนนํ้า เมื่อไม่ได้บินอาร์คีออปเทอริกซ์จะ อยู่บนพื้นเนื่องจากเท้าไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการเกาะคอน ดังนั้นมันจึงไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ มันเป็นญาติกับไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กซึ่งมันอาจเป็นนักล่าเช่นกัน


โซล์นโฮเฟน (Solnhofen)

โซล์นโฮเฟน (Solnhofen)
ช่วงปลายยุคจูแรสซิกเมื่อ 150 ล้านปีก่อน ทางตอนใต้ของเยอรมนีใกล้ๆกับมหาสมุึทรเททิส ระหว่างชายฝั่งและทะเลสาบนํ้าเค็มที่ปลอดคลื่นเป็นที่ตั้งของเกาะซึ่งเป็น ที่อาศัยของไดโนเสาร์ แต่สิ่งที่สร้างชื่อให้กับโลกที่สาบสูญนี้ไม่ใช่ไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่บน แผ่นดิน แต่เป็นบรรดาญาติมีปีกที่ตกลงในทะเลสาบตะกอนกลายเป็นหินปูน ได้รักษาซากของสัตว์เลื้อยคลานบินที่จมลงสู่ก้นทะเล เ้มื่อมีการเปิดเหมืองหินในโซล์นโฮเฟน เทอโรซอร์มากกว่า 1000 ชนิด ก็ถูกค้นพบพร้อมกับนกชนิดแรกที่ชื่อ อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx)


สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป2

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

ลิลลีแอนสเทิร์นนัส (Liliensternus)

ฟอสซิลบางส่วนของไดโนเสาร์กินเนื้อเดิน 2 ขาชนิดนี้พบในฝรั่งเศษและเยอรมนี ยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับมันนอกจากอยู่ในวงศ์เซอราโตซอรัส (กลุ่มหลักของไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน) มันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อพวกแรก ลิลลีแอนสเทิร์นนัสเป็นบรรพบรุษของไดโนเสาร์กินเนื้อที่เกิดต่อมาในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส มันอาจจะเป็นนักล่าหลักในช่วงเวลานั้น

เชลโล
ซอรัส (Sellosaurus)

ไดโนเสาร์วงศ์โปรซอโรพอดจากเยอรมันนี แหล่งที่ค้นพบซากที่ไม่สมบูรณ์ของเชลโลซอรัส ไดโนเสาร์ขนาดเล็กคล้ายกับสมาชิกอื่นในตระกูลนี้คือเดินได้ทั้ง 2 ขาและ 4 ขา ทำได้ทั้งก้มเล็มพืชคลุมดินหรือยืดตัวสูงเพื่อกินยอดไม้

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

พลาทิโอซอรัส (Plateosaurus)

ไดโนเสาร์ยุคไทรแอสซิกตอนปลายที่น่าจะดังที่สุดในยุโรป พลาทิโอซอรัสถูกพบจากแหล่งในเยอรมนี ฝรั่งเศษและสวิตเซอร์แลนด์บรรพบรุษของไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์ในยุคจูแรสซิกชนิดนี้เดิน 4 ขา และอาจยืดตัวบนขาหลังเพื่อกินพืชที่อยู่สูงและก็สามารถก้มตัวลงไปกินพืชคลุมดินได้ด้วย

ธีโคดอนโตซอรัส (Thecodontosaurus)

พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ธีโคดอนโตซอรัสอยู่ในวงศ์โปรซอโรพอด (กลุ่มของไดโนเสาร์กินพืชยุคเริ่มแรก) มีลักษณะเหมือนพลาทิโอซอรัสแต่มีเพียง 1 ใน 4 ธีโคดอนโตซอรัสเดิน บน 2 พอๆกับ 4 ขาอาจจะใช้กรงเล็บยาวที่นิ้วโป้งเกี่ยวต้นไม้เพื่อโน้มกิ่งลงมา มีฟันกรามรูปช้อนขอบหยักคล้ายใบเลื่อย ซึ่งเหมาะกับการตัดไบไม้จากต้นแปะก๊วยและพืชอื่นๆในยุคจูแรสซิก

ไดโนเสาร์ตัวแรกของยุโรป

ไดโนเสาร์ตัวแรกของยุโรปไดโนเสาร์ตัวแรกที่เยื้องกรายในยุโรปเกิดขึ้นในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 225 ล้านปีก่อน ครั้งนั้นอยู่ทางมุมด้านเหนือของมหาทวีปพันเจีย ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิสูงและแห้งแล้ง แนวชายฝั่งทางเหนือนั้นเหมาะสมกับพืชและสัตว์มากกว่า ซึ่งเป็นที่ที่พลาทิโอซอรัส (Plateosaurus) และสัตว์กินพืชชนิดอื่นอาศัยอยู่ และเล็มแปะก๊วยและพืชอื่นๆทั้งยังมีไดโนเสาร์กินเนื้อยุคแรกอย่างลิลลีแอนสเทิร์นนัส (Liliensternus) ไดโนเสาร์โบราณพวกนี้เป็นบรรพบรุษของไดโนเสาร์ที่พัฒนากว่าที่มีในยุคต่อมา



ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป
จนบัดนี้ไดโนเสาร์ยุโรปค้นพบประมาณ 375 แหล่งทั่วทั้งทวีป ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปลายยุคไทรแอสซิก 225 ล้านปีก่อนถึงยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน
ความสนใจในกระดูกสัตว์โบราณเริ่มถือกำเนิดใยุโรปและนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรก ที่ตั้งชื่อไดโนเสาร์ก็มาจากทวีปนี้ ไดโนเสาร์ในยุโรปจัดจำแนกได้แล้วปะมาณ 80 ชนิด ตั้งแต่ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กจนถึงไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์แห่งยุคจูแรสซิก นอกจากไดโนเสาร์ ชั้นหินของยุโรปยังมีฟอสซิลชนิดอื่น ได้แก่ นกโบราณและเทอโรซอร์หลายชนิด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า อณาจักรสัตว์โบราณมีความหลากหลายมากเพียงใด



สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในอูกามาอูโว

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในอูกามาอูโว

จิกแกนโนโตซอรัส (Giganotosaurus)
ขนาดตัวของไดโนเสาร์กินเนื้อตัวมหึมาตัวนี้สุดจะจินตนาการ ฟันมีร่องคล้ายมีดหั่นเสต็กเหมาะแก่การเฉือนเนื้อของซอโรพอดที่ตกเป็นเหยื่อ ซากฟอสซิลของนักล่าฉกาจตัวนี้พบทางใต้ลงไปจากแหล่งอูกามาอูโว


คาร์โนทอรัส (Carnotaurus)ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหน้าตาประหลาด เพียงแค่ตัวเดียวที่ค้นพบที่พาตาโกเนีย ทางใต้ของนิวกวน น่าประหลาดที่ว่าโครงกระดูกของมันเกือบครบสมบูรณ์ดังนั้นนักโบราณชีววิทยา จึงเข้าใจถึงลักษณะแปลกของมัน ได้แก่ ขาหน้าที่เล็กมาก และเขาเหนือตา

อูกาซอรัส (Aucasaurus)อูกาซอรัสคล้ายคาร์โนทอรัสแต่แทนที่จะมีเขากลับมีรอยปูดเหนือตาเป็นตัวอย่างเดียวที่ดูเหมือนจะตายจากการบาดเจ็บที่หัว


ทวีปอเมริกาใต้


แทบไม่มีการค้นพบไดโนเสาร์ในทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากไม่ค่อยมีการสำรวจทวีปนี้ จนกระลิงก์ทั่ง ทศวรรษที่ 1950 การขุดค้นเต็มกำลังของคณะนักโบราณชีววิทยา และการค้นพบโดยบังเอิญของชาวไร่ ได้เผยโฉมกระดูกไดโนเสาร์ ไข่ และรอยเท้า มากกว่า 100 แหล่ง ไดโนเสาร์ของทวีปอเมริกาใต้ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ทวีปอเมริกาเหนือมาก แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 ทวีปเชื่้อมกันอยู่ใน่ช่วงเวลายุคครีเทเชียส ฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนมากพบทางตอนใต้ของทวีปโดยเฉพาะอาร์เจนตินา ถึงแม้จะพบไดโนเสาร์ของทุกยุคตั้งแต่ปลายยุคไทรแอสซิกจนถึงปลายยุคครีเทเชียส แต่พบไดโนเสาร์ยุคจูแรสซิกน้อยมาก







ที่มา : http://www.thaidinosaur.com

DINOSAUR (2000) - ไดโนเสาร์ [พากย์ไทย]

เรื่องย่อ : เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ปลายยุคครีเตเซียส Dinosaur กล่าวถึงเรื่องการผจญภัยของไดโนเสาร์พันธุ์อิกัวโนดอน ที่มีชื่อว่า อลาดาร์ ซึ่งพลัดพรากจากเผ่าพันธุ์ตัวเองตั้งแต่เกิด โดยได้รับการเลี้ยงดูฟูมฟัก จากตัวลีเมอร์บนเกาะแห่งหนึ่ง และเมื่อฝนอุกกาบาตตกลงมา ทำความหายนะให้กับโลกจนเกิดความวุ่นวาย อลาดาร์และครอบครัวลีเมอร์ของมัน ก็ต้องหนีขึ้นฝั่ง และร่วมขบวนอพยพไปกับไดโนเสาร์พันธุ์อื่นๆ ที่กำลังหาแหล่งพักพิงแหล่งใหม่ และด้วยความที่ขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร ทำให้ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์กระหายเลือด ที่อันตรายที่สุดในตอนนี้ ฝูง ไดโนเสาร์ต้องเผชิญกับเหตุการณ์เสี่ยงชีวิต ในระหว่างการอพยพที่ไม่น่าวางใจในสิ่งใดๆ เลย ความคิดอันหลักแหลมและความใจดีของอลาดาร์ ที่มีต่อ “สมาชิก” ของกลุ่ม ทำให้ อลาดาร์กลายเป็นศัตรูกับ ครอน และ บรูตัน ผู้นำกลุ่มเลือดเย็น และองครักษ์คนสนิทของมัน แต่อลาดาร์ได้เปรียบตรงที่ มันมี นีร่า น้องสาวของครอนคอยแอบช่วยเหลืออยู่ แล้วอลาดาร์ก็ได้โอกาสท้าทาย “ขนบเก่าๆ” ของไดโนเสาร์ และทำให้ทุกตัวเห็นว่า การปรับตัวและทำงานร่วมกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้อยู่รอด ตอนแรก ตอนจบ

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.