สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในโซล์นโฮเฟน

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในโซล์นโฮเฟน

คอมพ์ซอกนาธัส (Compsognathus)

ไดโนเสาร์ชนิดเดียวที่พบในโซล์นโฮเฟนคือ คอมพ์ซอกนาธัส ไดโนเสาร์กินเนื้อที่เล็กที่สุดในบรรดาใดโนเสาร์ อาจจับสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กเช่น กิ้งก่า และแมลงเป็นอาหาร

อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx)


นกโบราณนี้กระพือปีกที่ปกคลุมด้วยขนแบบนกบินข้ามผืนดินผืนนํ้า เมื่อไม่ได้บินอาร์คีออปเทอริกซ์จะ อยู่บนพื้นเนื่องจากเท้าไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการเกาะคอน ดังนั้นมันจึงไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้ มันเป็นญาติกับไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กซึ่งมันอาจเป็นนักล่าเช่นกัน


โซล์นโฮเฟน (Solnhofen)

โซล์นโฮเฟน (Solnhofen)
ช่วงปลายยุคจูแรสซิกเมื่อ 150 ล้านปีก่อน ทางตอนใต้ของเยอรมนีใกล้ๆกับมหาสมุึทรเททิส ระหว่างชายฝั่งและทะเลสาบนํ้าเค็มที่ปลอดคลื่นเป็นที่ตั้งของเกาะซึ่งเป็น ที่อาศัยของไดโนเสาร์ แต่สิ่งที่สร้างชื่อให้กับโลกที่สาบสูญนี้ไม่ใช่ไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่บน แผ่นดิน แต่เป็นบรรดาญาติมีปีกที่ตกลงในทะเลสาบตะกอนกลายเป็นหินปูน ได้รักษาซากของสัตว์เลื้อยคลานบินที่จมลงสู่ก้นทะเล เ้มื่อมีการเปิดเหมืองหินในโซล์นโฮเฟน เทอโรซอร์มากกว่า 1000 ชนิด ก็ถูกค้นพบพร้อมกับนกชนิดแรกที่ชื่อ อาร์คีออปเทอริกซ์ (Archaeopteryx)


สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป2

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

ลิลลีแอนสเทิร์นนัส (Liliensternus)

ฟอสซิลบางส่วนของไดโนเสาร์กินเนื้อเดิน 2 ขาชนิดนี้พบในฝรั่งเศษและเยอรมนี ยังไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับมันนอกจากอยู่ในวงศ์เซอราโตซอรัส (กลุ่มหลักของไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน) มันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อพวกแรก ลิลลีแอนสเทิร์นนัสเป็นบรรพบรุษของไดโนเสาร์กินเนื้อที่เกิดต่อมาในยุคจูแรสซิกและครีเทเชียส มันอาจจะเป็นนักล่าหลักในช่วงเวลานั้น

เชลโล
ซอรัส (Sellosaurus)

ไดโนเสาร์วงศ์โปรซอโรพอดจากเยอรมันนี แหล่งที่ค้นพบซากที่ไม่สมบูรณ์ของเชลโลซอรัส ไดโนเสาร์ขนาดเล็กคล้ายกับสมาชิกอื่นในตระกูลนี้คือเดินได้ทั้ง 2 ขาและ 4 ขา ทำได้ทั้งก้มเล็มพืชคลุมดินหรือยืดตัวสูงเพื่อกินยอดไม้

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุโรป

พลาทิโอซอรัส (Plateosaurus)

ไดโนเสาร์ยุคไทรแอสซิกตอนปลายที่น่าจะดังที่สุดในยุโรป พลาทิโอซอรัสถูกพบจากแหล่งในเยอรมนี ฝรั่งเศษและสวิตเซอร์แลนด์บรรพบรุษของไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์ในยุคจูแรสซิกชนิดนี้เดิน 4 ขา และอาจยืดตัวบนขาหลังเพื่อกินพืชที่อยู่สูงและก็สามารถก้มตัวลงไปกินพืชคลุมดินได้ด้วย

ธีโคดอนโตซอรัส (Thecodontosaurus)

พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ธีโคดอนโตซอรัสอยู่ในวงศ์โปรซอโรพอด (กลุ่มของไดโนเสาร์กินพืชยุคเริ่มแรก) มีลักษณะเหมือนพลาทิโอซอรัสแต่มีเพียง 1 ใน 4 ธีโคดอนโตซอรัสเดิน บน 2 พอๆกับ 4 ขาอาจจะใช้กรงเล็บยาวที่นิ้วโป้งเกี่ยวต้นไม้เพื่อโน้มกิ่งลงมา มีฟันกรามรูปช้อนขอบหยักคล้ายใบเลื่อย ซึ่งเหมาะกับการตัดไบไม้จากต้นแปะก๊วยและพืชอื่นๆในยุคจูแรสซิก

ไดโนเสาร์ตัวแรกของยุโรป

ไดโนเสาร์ตัวแรกของยุโรปไดโนเสาร์ตัวแรกที่เยื้องกรายในยุโรปเกิดขึ้นในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 225 ล้านปีก่อน ครั้งนั้นอยู่ทางมุมด้านเหนือของมหาทวีปพันเจีย ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร อุณหภูมิสูงและแห้งแล้ง แนวชายฝั่งทางเหนือนั้นเหมาะสมกับพืชและสัตว์มากกว่า ซึ่งเป็นที่ที่พลาทิโอซอรัส (Plateosaurus) และสัตว์กินพืชชนิดอื่นอาศัยอยู่ และเล็มแปะก๊วยและพืชอื่นๆทั้งยังมีไดโนเสาร์กินเนื้อยุคแรกอย่างลิลลีแอนสเทิร์นนัส (Liliensternus) ไดโนเสาร์โบราณพวกนี้เป็นบรรพบรุษของไดโนเสาร์ที่พัฒนากว่าที่มีในยุคต่อมา



ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป
จนบัดนี้ไดโนเสาร์ยุโรปค้นพบประมาณ 375 แหล่งทั่วทั้งทวีป ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปลายยุคไทรแอสซิก 225 ล้านปีก่อนถึงยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน
ความสนใจในกระดูกสัตว์โบราณเริ่มถือกำเนิดใยุโรปและนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรก ที่ตั้งชื่อไดโนเสาร์ก็มาจากทวีปนี้ ไดโนเสาร์ในยุโรปจัดจำแนกได้แล้วปะมาณ 80 ชนิด ตั้งแต่ไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กจนถึงไดโนเสาร์กินพืชขนาดยักษ์แห่งยุคจูแรสซิก นอกจากไดโนเสาร์ ชั้นหินของยุโรปยังมีฟอสซิลชนิดอื่น ได้แก่ นกโบราณและเทอโรซอร์หลายชนิด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า อณาจักรสัตว์โบราณมีความหลากหลายมากเพียงใด



สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในอูกามาอูโว

สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในอูกามาอูโว

จิกแกนโนโตซอรัส (Giganotosaurus)
ขนาดตัวของไดโนเสาร์กินเนื้อตัวมหึมาตัวนี้สุดจะจินตนาการ ฟันมีร่องคล้ายมีดหั่นเสต็กเหมาะแก่การเฉือนเนื้อของซอโรพอดที่ตกเป็นเหยื่อ ซากฟอสซิลของนักล่าฉกาจตัวนี้พบทางใต้ลงไปจากแหล่งอูกามาอูโว


คาร์โนทอรัส (Carnotaurus)ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อหน้าตาประหลาด เพียงแค่ตัวเดียวที่ค้นพบที่พาตาโกเนีย ทางใต้ของนิวกวน น่าประหลาดที่ว่าโครงกระดูกของมันเกือบครบสมบูรณ์ดังนั้นนักโบราณชีววิทยา จึงเข้าใจถึงลักษณะแปลกของมัน ได้แก่ ขาหน้าที่เล็กมาก และเขาเหนือตา

อูกาซอรัส (Aucasaurus)อูกาซอรัสคล้ายคาร์โนทอรัสแต่แทนที่จะมีเขากลับมีรอยปูดเหนือตาเป็นตัวอย่างเดียวที่ดูเหมือนจะตายจากการบาดเจ็บที่หัว


ทวีปอเมริกาใต้


แทบไม่มีการค้นพบไดโนเสาร์ในทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากไม่ค่อยมีการสำรวจทวีปนี้ จนกระลิงก์ทั่ง ทศวรรษที่ 1950 การขุดค้นเต็มกำลังของคณะนักโบราณชีววิทยา และการค้นพบโดยบังเอิญของชาวไร่ ได้เผยโฉมกระดูกไดโนเสาร์ ไข่ และรอยเท้า มากกว่า 100 แหล่ง ไดโนเสาร์ของทวีปอเมริกาใต้ใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ทวีปอเมริกาเหนือมาก แสดงให้เห็นว่าทั้ง 2 ทวีปเชื่้อมกันอยู่ใน่ช่วงเวลายุคครีเทเชียส ฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนมากพบทางตอนใต้ของทวีปโดยเฉพาะอาร์เจนตินา ถึงแม้จะพบไดโนเสาร์ของทุกยุคตั้งแต่ปลายยุคไทรแอสซิกจนถึงปลายยุคครีเทเชียส แต่พบไดโนเสาร์ยุคจูแรสซิกน้อยมาก







ที่มา : http://www.thaidinosaur.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

DINOSAUR (2000) - ไดโนเสาร์ [พากย์ไทย]

เรื่องย่อ : เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ปลายยุคครีเตเซียส Dinosaur กล่าวถึงเรื่องการผจญภัยของไดโนเสาร์พันธุ์อิกัวโนดอน ที่มีชื่อว่า อลาดาร์ ซึ่งพลัดพรากจากเผ่าพันธุ์ตัวเองตั้งแต่เกิด โดยได้รับการเลี้ยงดูฟูมฟัก จากตัวลีเมอร์บนเกาะแห่งหนึ่ง และเมื่อฝนอุกกาบาตตกลงมา ทำความหายนะให้กับโลกจนเกิดความวุ่นวาย อลาดาร์และครอบครัวลีเมอร์ของมัน ก็ต้องหนีขึ้นฝั่ง และร่วมขบวนอพยพไปกับไดโนเสาร์พันธุ์อื่นๆ ที่กำลังหาแหล่งพักพิงแหล่งใหม่ และด้วยความที่ขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร ทำให้ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์กระหายเลือด ที่อันตรายที่สุดในตอนนี้ ฝูง ไดโนเสาร์ต้องเผชิญกับเหตุการณ์เสี่ยงชีวิต ในระหว่างการอพยพที่ไม่น่าวางใจในสิ่งใดๆ เลย ความคิดอันหลักแหลมและความใจดีของอลาดาร์ ที่มีต่อ “สมาชิก” ของกลุ่ม ทำให้ อลาดาร์กลายเป็นศัตรูกับ ครอน และ บรูตัน ผู้นำกลุ่มเลือดเย็น และองครักษ์คนสนิทของมัน แต่อลาดาร์ได้เปรียบตรงที่ มันมี นีร่า น้องสาวของครอนคอยแอบช่วยเหลืออยู่ แล้วอลาดาร์ก็ได้โอกาสท้าทาย “ขนบเก่าๆ” ของไดโนเสาร์ และทำให้ทุกตัวเห็นว่า การปรับตัวและทำงานร่วมกัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้อยู่รอด ตอนแรก ตอนจบ

ผู้ติดตาม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.